นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน        
       
         บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยจะให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) ที่เป็นไปตามหลักสากล และเพื่อให้บริษัทฯ มีการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้สภาวการณ์ที่การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายหลายด้าน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าในระยะยาวให้แก่ธุรกิจและสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริหาร จึงได้กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม  โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบ โดยมีระบบงานสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การสื่อสารข้อมูล การตรวจสอบและทบทวน
  2. ยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางและวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ในกฏบัตรและจรรยาบรรณบริษัทฯ รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. นำแนวคิดและหลักการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มาปรับใช้ในการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  4. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  5. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ต่อชุมชนและสังคม ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  6. ปลูกฝังจิตสานึกและวัฒนธรรมด้านการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  7. พัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมองค์กรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เป็นกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจและความเติบโตขององค์กรในระยะยาว
  8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  9. เปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการและข้อมูลการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียอื่น ๆ

แนวปฏิบัติของนโยบาย
      
        
บริษัทฯ มีคณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่สนับสนุนและผลักดันให้มีการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน และมีคณะกรรมการบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อให้ฝ่ายจัดการรับไปดำเนินการ โดยมุ่งหวังให้มีการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียการจัดการผลกระทบด้านลบต่อผู้มีส่วนได้เสีย มีการบริหารจัดการความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการใช้พลังงานการใช้น้ำ การจัดการขยะ ของเสียและมลพิษ การบริหารจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก การจัดทำนโยบายด้านสังคม และสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างคุณค่า การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบธรรมาภิบาล และการต่อต้านการทุจริต การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ดังนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงและมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะโครงการ ส่งเสริมให้ความรู้ รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินการต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ “เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยางข้นของโลก โดยสร้างสรรค์สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความยั่งยืนและมั่นคงของธุรกิจ” ตลอดไป

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ       
         
          บริษัทมุ่งมั่นที่จะนำประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า คู่ค้า เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดกลยุทธ์และสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมหลักทางธุรกิจ อันนำมาซึ่งการเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทและสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
         
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
          บริษัทคำนึงถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนบริหารจัดการความยั่งยืนของกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบสำหรับกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคาสินค้าและบริการการขนส่งผลิตภัณฑ์และ บริการ และการให้บริการหลังการขายเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
 

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ 
        บริษัทกำหนดผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากขอบเขตของการมีส่วนร่วม และคุณลักษณะของผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีผลกระทบต่อบริษัท รวมถึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมของบริษัททั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งบริษัทวิเคราะห์และระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า และชุมชน
           ทั้งนี้ บริษัทจะทำการประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน อย่างสม่ำเสมอ ผ่านกระบวนการและรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความพึงพอใจ การประชุม หรือช่องทางการมีส่วนร่วมอื่นๆ เพื่อรับทราบ ผลกระทบและประเด็นที่เกี่ยวโยงระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทั้งด้านบวกและลบ
 
การประเมินสาระสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย 
         
บริษัท ได้มีการกำหนดกระบวนการประเมินความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน เพื่อสะท้อนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแล และประเด็นต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าขององค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ รวมถึงความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากความคาดหวัง และการตอบสนองของบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียเพื่อนำไปบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดความสมดุล ทั้งนี้การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนมี 3 ขั้นตอนดังนี้
  1. การระบุประเด็นสำคัญขององค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย (Identification)
  2. การประเมินระดับความสำคัญ (Prioritization)
  3. การสอบทานประเด็นสาระสำคัญ (Validation)
     นอกจากนี้บริษัท ยังให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยได้มีการจัดกลุ่มประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืนเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. ประเด็นความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
  2. ประเด็นความยั่งยืนด้านสังคม
  3. ประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

คณะกรรมการความยั่งยืน 
 
      คณะกรรมการบริษัทได้ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดีมาโดยตลอด และได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับการมีความรับผิดชอบต่อสังคม และสิ่งแวดล้อม จึงมีมติแต่งตั้งคณะกรรมการความยั่งยืน เพื่อทำหน้าที่ในการพิจารณากำหนดนโยบายและแนวทางปฏิบัติในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาเพื่อความยั่งยืน อันนำไปสู่การมีระบบการบริหารจัดการองค์กรที่มีความโปร่งใส เป็นธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสีย เป็นการเพิ่มมูลค่าและส่งเสริมความสามารถในการแข่งขันของบริษัทฯ ให้เติบโตอย่างยั่งยืน ดังนี้
  • นายภัทรพล วงศาสุทธิกุล ประธานกรรมการ
  • นางสาวฉลองขวัญ วงศาสุทธิกุล กรรมการ
  • นายประวิทย์ วรประทีป กรรมการ 
หน้าที่ และความรับผิดชอบ
  1. กำหนดทิศทาง นโยบาย กลยุทธ์ เป้าหมาย และแผนงานการพัฒนาด้านความยั่งยืน ให้ครอบคลุมในมิติสิ่งแวดล้อม (Environmental) สังคม (Social) และการกำกับดูแลกิจการ (Government) ของบริษัทฯ เพื่อนำเสนอต่อคณะกรรมการบริษัท
  2. สนับสนุนและผลักดันให้เกิดความร่วมมือในการดำเนินงานด้านความยั่งยืนทั่วทั้งองค์กรโดยให้คำแนะนำและส่งเสริมการบูรณา การการดำเนินงานด้านความยั่งยืนเข้ากับกลยุทธ์ธุรกิจ การประเมินความเสี่ยงและแผนงานขององค์กรทั้งในระยะสั้นและระยะยาว เพื่อให้บรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืนขององค์กรที่ตั้งไว้
  3. ทบทวน และเสนอแนะแนวปฏิบัติด้านความยั่งยืนของบริษัท ให้สอดคล้องกับแนวปฏิบัติที่ดี (Best Practices) และมาตรฐานสากลให้ทันสมัยอยู่เสมอ และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อการพิจารณาปรับปรุงพัฒนา
  4. พิจารณาให้ความเห็นชอบต่อประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนประจำปีของบริษัท ให้สอดคล้องกับความต้องการ และความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย บริบทภายนอก ทิศทาง เป้าหมายขององค์กร และเสนอต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อขออนุมัติ และมอบหมายให้ฝ่ายจัดการดำเนินการตอบสนอง และติดตามผล
  5. ติดตามและสรุปผลการดำเนินงานด้านความยั่งยืนขององค์กร และรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการบริษัทอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง
  6. ดูแลการเปิดเผยข้อมูลด้านความยั่งยืนของบริษัท ผ่านรายงานประจำปี และรายงานความยั่งยืนประจำปีของบริษัท
  7. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงานด้านความยั่งยืนตามที่เห็นสมควร