นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน        
       
        บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) มีเจตนารมณ์และความมุ่งมั่นในการพัฒนาและขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยจะให้ความสำคัญกับการดำเนินธุรกิจที่คำนึงถึงความรับผิดชอบ 3 ด้านหลัก คือ สิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (Environmental, Social, Governance : ESG) ที่เป็นไปตามหลักสากล และเพื่อให้บริษัทฯ มีการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้สามารถอยู่รอดและเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ภายใต้สภาวการณ์ที่การดำเนินธุรกิจต้องเผชิญกับปัญหาและความท้าทายหลายด้าน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าในระยะยาวให้แก่ธุรกิจและสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ต่อผู้มีส่วนได้เสีย คณะกรรมการบริหาร จึงได้กำหนดนโยบาย และเป้าหมายการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน เพื่อใช้เป็นกรอบและแนวทางในการดำเนินงาน ดังนี้
  1. บริษัทฯ จะดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบการกำกับดูแลกิจการที่ดี ที่ตั้งอยู่บนพื้นฐานของความซื่อสัตย์สุจริต ยุติธรรม  โปร่งใส เปิดเผย ตรวจสอบได้ และมีความรับผิดชอบ โดยมีระบบงานสนับสนุนที่สำคัญ ประกอบด้วย การบริหารความเสี่ยง การควบคุมภายใน การสื่อสารข้อมูล การตรวจสอบและทบทวน
  2. ยึดถือและปฏิบัติตามแนวทางและวิธีปฏิบัติที่กำหนดไว้ในกฏบัตรและจรรยาบรรณบริษัทฯ รวมทั้งนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  3. นำแนวคิดและหลักการในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน มาปรับใช้ในการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าและความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  4. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  5. กำหนดนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสังคม ซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการเคารพสิทธิมนุษยชน และความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้เสีย ต่อชุมชนและสังคม ตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
  6. ปลูกฝังจิตสานึกและวัฒนธรรมด้านการปกป้องดูแลสิ่งแวดล้อม และความรับผิดชอบต่อสังคมต่อพนักงานและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องและสม่ำเสมอ
  7. พัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมองค์กรและเทคโนโลยีใหม่ ๆ ให้เป็นกลยุทธ์ธุรกิจ เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับธุรกิจและความเติบโตขององค์กรในระยะยาว
  8. ส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่ธุรกิจ ดำเนินธุรกิจตามแนวทางการพัฒนาอย่างยั่งยืน
  9. เปิดเผยข้อมูลการกำกับดูแลกิจการและข้อมูลการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อความยั่งยืน แก่ผู้ลงทุนและผู้มีส่วนได้เสียอื่นๆ

แนวปฏิบัติของนโยบาย
      
        
บริษัทมีคณะกรรมการบริษัท ทำหน้าที่สนับสนุนและผลักดันให้มีการพัฒนาธุรกิจสู่ความยั่งยืน และมีคณะกรรมการบริหาร ทำหน้าที่กำหนดนโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่ครอบคลุมทั้งด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล เพื่อให้ฝ่ายจัดการรับไปดำเนินการ โดยมุ่งหวังให้มีการบริหารจัดการห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ การสร้างความสัมพันธ์กับผู้มีส่วนได้เสียการจัดการผลกระทบด้านลบต่อผู้มีส่วนได้เสีย มีการบริหารจัดการความยั่งยืนในมิติสิ่งแวดล้อม ทั้งในด้านการใช้พลังงานการใช้น้ำ การจัดการขยะ ของเสียและมลพิษ การบริหารจัดการเพื่อลดปัญหาก๊าซเรือนกระจก การจัดทำนโยบายด้านสังคม และสิทธิมนุษยชน ความรับผิดชอบต่อลูกค้า ความรับผิดชอบต่อชุมชนและสังคม การปกป้องฟื้นฟูระบบนิเวศและความหลากหลายทางชีวภาพ การส่งเสริมนวัตกรรมและการสร้างคุณค่า การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนภายใต้ระบบธรรมาภิบาล และการต่อต้านการทุจริต การเคารพและปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล ดังนั้น เพื่อแสดงให้เห็นถึงและมุ่งมั่นในการพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน บริษัทจึงได้มีการจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่เสนอแนะโครงการ ส่งเสริมให้ความรู้ รวบรวมข้อมูลและผลการดำเนินการต่างๆ โดยมีเป้าหมายเพื่อ “เป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยางข้นของโลก โดยสร้างสรรค์สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความยั่งยืนและมั่นคงของธุรกิจ” ตลอดไป

การจัดการผลกระทบต่อผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ       
         
          บริษัทมุ่งมั่นที่จะนำประสบการณ์ในการดำเนินธุรกิจ สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า คู่ค้า เพื่อสร้างการเติบโตทางธุรกิจควบคู่กับการขับเคลื่อนธุรกิจสู่ความยั่งยืน โดยกำหนดกลยุทธ์และสร้างความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ เพื่อร่วมสนับสนุนกิจกรรมหลักทางธุรกิจ อันนำมาซึ่งการเติบโตทางธุรกิจของกลุ่มบริษัทและสร้างผลตอบแทนแก่ผู้ถือหุ้นและผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง
         
ห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ
          บริษัทคำนึงถึงกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ตลอดจนบริหารจัดการความยั่งยืนของกิจกรรมตลอดห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจ ได้แก่ การจัดหาวัตถุดิบสำหรับกระบวนการผลิต การพัฒนาผลิตภัณฑ์ การจัดซื้อจัดจ้าง การกำหนดราคาสินค้าและบริการการขนส่งผลิตภัณฑ์และ บริการ และการให้บริการหลังการขายเพื่อตอบสนองความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่าย
 

การวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสียในห่วงโซ่คุณค่าธุรกิจ 
        บริษัทกำหนดผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง โดยพิจารณาจากขอบเขตของการมีส่วนร่วม และคุณลักษณะของผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นกลุ่มบุคคลหรือบุคคลที่มีผลกระทบต่อบริษัท รวมถึงได้รับผลกระทบจากการดำเนินธุรกิจและกิจกรรมของบริษัททั้งทางตรงหรือทางอ้อม ซึ่งบริษัทวิเคราะห์และระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้แก่ ผู้มีส่วนได้เสียภายในองค์กร ได้แก่ ผู้ถือหุ้นและพนักงาน และผู้มีส่วนได้เสียภายนอกองค์กร ได้แก่ ลูกค้า คู่ค้า และชุมชน
           ทั้งนี้ บริษัทจะทำการประเมินความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสียทุกส่วน อย่างสม่ำเสมอ ผ่านกระบวนการและรับฟังความคิดเห็น การสำรวจความพึงพอใจ การประชุม หรือช่องทางการมีส่วนร่วมอื่นๆ เพื่อรับทราบ ผลกระทบและประเด็นที่เกี่ยวโยงระหว่างบริษัทและผู้มีส่วนได้เสียทั้งด้านบวกและลบ
 
การประเมินสาระสำคัญของประเด็นความยั่งยืนที่เกี่ยวข้องกับผู้มีส่วนได้เสีย 
         
บริษัท ได้มีการกำหนดกระบวนการประเมินความสำคัญของประเด็นความยั่งยืน เพื่อสะท้อนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำเนินธุรกิจขององค์กรในด้านเศรษฐกิจ สังคม สิ่งแวดล้อมและการกำกับดูแล และประเด็นต่าง ๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อการสร้างคุณค่าขององค์กรตลอดห่วงโซ่คุณค่าทางธุรกิจ รวมถึงความต้องการ ความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย โดยได้วิเคราะห์ข้อมูลจากความคาดหวัง และการตอบสนองของบริษัทที่มีต่อผู้มีส่วนได้เสียเพื่อนำไปบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพและให้เกิดความสมดุล ทั้งนี้การประเมินประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนมี 3 ขั้นตอนดังนี้
  1. การระบุประเด็นสำคัญขององค์กรและผู้มีส่วนได้เสีย (Identification)
  2. การประเมินระดับความสำคัญ (Prioritization)
  3. การสอบทานประเด็นสาระสำคัญ (Validation)
     นอกจากนี้บริษัท ยังให้ความสำคัญกับการตอบสนองต่อเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนของสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals : SDGs) ในการดำเนินธุรกิจเพื่อความยั่งยืน โดยได้มีการจัดกลุ่มประเด็นสำคัญ ด้านความยั่งยืนเป็น 3 กลุ่ม ดังนี้
  1. ประเด็นความยั่งยืนด้านเศรษฐกิจ
  2. ประเด็นความยั่งยืนด้านสังคม
  3. ประเด็นความยั่งยืนด้านสิ่งแวดล้อม

Appointment of Sustainability Committee
 
          The Board of Directors has always prioritized compliance with good corporate governance principles and has foreseen the significance of running a business along with social and environmental responsibilities. Therefore, it was resolved to appoint the Sustainability Committee to be responsible for considering and setting policies and guidelines related to sustainable development, leading to a transparent and fair organizational management system to build stakeholders’ confidence in order to add value and promote the company’s competitiveness for sustainable growth as follows:
  • Mr. Pattarapol   Wongsasuthikul  Chairman
  • Mr. Prawit  Waraprateep  Director
  • Ms. Chalongkwan   Wongsasuthikul   Director  
Duties and Responsibilities
  1. To determine directions, policies, strategies, goals, and plans for sustainable development covering Environmental and Social dimensions and Government of the company to present to the Board of Directors.
  2. To support and drive collaboration in sustainability performance across the organization by providing advice and promoting the integration of sustainability into business strategies, risk assessments, and short-term and long-term corporate plans in order to achieve the established corporate sustainability goals.
  3. To review and recommend the company’s sustainability practices in line with Best Practices and international standards by always keeping them up-to-date, and present them to the Board of Directors for further improvement and development.
  4. To consider and approve the company’s annual sustainability issues in line with the needs and expectations of the stakeholders, the external context, direction, and goals of the organization, and propose to the Board of Directors to seek approval and assign the management to respond and follow up.
  5. To follow up, summarize organization sustainability performance, and report progress to the Board of Directors at least once a year.
  6. To supervise the disclosure of the company’s sustainability information through the annual report and the company’s annual sustainability report.
  7. To consider appointing a sustainability working group as deemed appropriate.