การส่งเสริมศักยภาพและความยั่งยืนร่วมกับคู่ค้า


           เพื่อให้มั่นใจว่าบริษัทฯ ให้ความสำคัญกับการสร้างความสัมพันธ์อันดีและร่วมกันพัฒนาศักยภาพในการดำเนินงานบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยการสื่อสารกับคู่ค้าอย่างมีประสิทธิภาพ เกี่ยวกับการจัดการห่วงโซ่อุปทานแบบบูรณาการ วางแผนพัฒนาศักยภาพ ส่งเสริมสนับสนุน และผลักดัน บริษัทคู่ค้าให้มีการจัดการที่ดีร่วมกัน โดยการยกระดับศักยภาพคู่ค้า ผ่านการประเมินทางความยั่งยืน ด้านสังคม และสิ่งแวดล้อม เพื่อให้การดำเนินการมีประสิทธิภาพสูงสุด

แผนงานที่จะพัฒนาและยกระดับศักยภาพคู่ค้า

  1. สำหรับคู่ค้ารายใหม่ ใช้เกณฑ์การประเมินที่ครอบคลุมประเมินตนเอง พร้อมทั้งเซ็นรับทราบจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า
  2. สำหรับคู่ค้ารายเดิม วางแผนดำเนินการให้คู่ค้าทำแบบประเมินตนเอง ประเด็นทางด้านสังคมและสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้แรงงาน ความปลอดภัยและสิ่งแวดล้อมใหม่ทั้งหมด พร้อมทั้งเซ็นรับทราบจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า

บริษัทฯ คัดเลือกและสนับสนุนคู่ค้าที่คำนึงถึงด้านสังคม และที่ได้รับการรับรองคุณภาพมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม ISO:14000, Green Procurement  เป็นอันดับแรก
         
กรณีไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน ทางคู่ค้าต้องวางแผนการปรับวิธีการดำเนินงาน มีระยะเวลาที่ชัดเจน และแจ้งผลสำเร็จให้บริษัทฯ ทราบ


ผลการดำเนินงาน

ดำเนินการติดตามผลและแสดงผลการดำเนินงานการส่งเสริมศักยภาพและความสามารถในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนร่วมกับคู่ค้าอย่างสม่ำเสมอ ในการดำเนินการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน คำนึงถึงด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม เช่นการใช้แรงงาน ความปลอดภัย ด้านสินค้า บริการ และด้านการดำเนินธุรกิจ  เพื่อให้มั่นใจว่าคู่ค้าได้ปฏิบัติตามแนวปฏิบัติสำหรับคู่ค้าธุรกิจ
        
เป้าหมายการติดตามผลและผลการดำเนินงานการส่งเสริมศักยภาพ               

  เป้าหมาย (ร้อยละ) ผลการดำเนินงาน ปี 2566
ด้านสิ่งแวดล้อม     100 75
ด้านสังคม / การใช้แรงงาน ความปลอดภัย 100 75
ด้านสินค้า และบริการ 100 100
ด้านการดำเนินธุรกิจ             100 100

           ผลจากการตอบแบบประเมินตนเองปี 2566 ด้านสิ่งแวดล้อม ด้านสังคม เช่นการใช้แรงงาน ความปลอดภัย ด้านสินค้า บริการ และด้านการดำเนินธุรกิจ  (ESG) คู่ค้าที่ไม่ถึงเป้าหมายที่กำหนด ได้มีการประชาสัมพันธ์วางโครงการแผนพัฒนาร่วมกันกับคู่ค้าให้เห็นถึงความสำคัญในการพัฒนาศักยภาพ ทำการตรวจติดตามปีละ 1 ครั้ง

การคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่

  1. การจัดซื้อทำการสรรหา และคัดเลือกคู่ค้ารายใหม่ โดยตรวจสอบข้อมูลเบื้องต้น และแนบเอกสารประกอบ ได้แก่ หนังสือรับรองบริษัท, ภพ.20, สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน, บัตรแสดงตัวตนหรืออื่นๆ (ถ้ามี) หากมีเอกสารที่มีข้อมูลส่วนบุคคลที่มีความอ่อนไหว  ต้องแนบหนังสือขอความยินยอมของคู่สัญญา
  2. การจัดซื้อลงแบบประเมินคู่ค้า สินค้าในการผลิตสินค้ารายใหม่สำหรับครั้งแรกที่ทำการซื้อ เพื่อทำการประเมินตนเองในเรื่องการปฏิบัติตามจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนคำนึงถึงประเด็น ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม และด้านสิ่งแวดล้อม พร้อมทั้งยินดีให้บริษัทฯ เปิดเผย หากบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงาน
  3. การจัดซื้อทำการรวบรวมใบเสนอราคา จากคู่ค้าที่ผ่านการประเมินแล้ว ทำการเปรียบเทียบโดยใช้ รายละเอียดใบเสนอราคาจะต้องมีรายละเอียดสินค้า ผู้เสนอ  ตราประทับของบริษัทคู่ค้า ราคาต่อหน่วย ชื่อสินค้า การยืนราคา เครดิตเทอม ระยะเวลาการจัดส่ง หรือรายละเอียดอื่นที่เกี่ยวกับเรื่องคุณภาพโดยบันทึกรายละเอียด ทำการเปรียบเทียบ  เพื่อนำเสนอต่อผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติจัดซื้อ
การตรวจสอบคุณภาพสินค้า
  1. กรณีคู่ค้ารายใหม่ ต้องตรวจคุณภาพก่อนจัดซื้อ โดยเฉพาะสารเคมี มีการส่งตัวอย่างทดสอบ ให้กับฝ่ายวิจัยและพัฒนา  เพื่อทำการทดสอบคุณสมบัติว่าตรงตามที่ต้องการ หรือไม่ และทำการบันทึกผลการทดสอบว่าผ่าน / ไม่ผ่าน และแจ้งผู้ให้กับทางคู่ค้ารับทราบ
  2. กรณีคู่ค้ารายเดิม  หากไม่ได้มีการซื้อขายกันเกิน 6 เดือน ต้องทำการส่งตัวอย่างทดสอบใหม่
  3. กรณีคู่ค้ารายเดิมที่มิใช่เป็นผู้ผลิต แต่ได้มีการเปลี่ยนแหล่งผลิต ต้องทำการส่งตัวอย่างทดสอบใหม่             

นโยบายการปฏิบัติต่อเจ้าหนี้

               บริษัทฯ พึงมีความรับผิดชอบในการปฏิบัติตามสัญญา เงื่อนไข ข้อตกลง ภาระผูกพัน และหนี้สินที่อาจเกิดขึ้น หรือหนี้สินที่เกิดขึ้นแล้วต่อเจ้าหนี้อย่างเคร่งครัด โดยยึดมั่นในการดำเนินธุรกิจอย่างมีหลักการและยุติธรรม เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้กับเจ้าหนี้ โดยเปิดเผยข้อมูลอย่างโปร่งใสเพื่อไม่ทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหาย
 
แนวทางปฏิบัติและความรับผิดชอบต่อเจ้าหนี้
               1. บริษัทฯ พึงปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนดกฎเกณฑ์ในการดำเนินธุรกิจร่วมกัน และกรณีเมื่อไม่สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขได้ ต้องแจ้งให้เจ้าหนี้รับทราบและพิจารณาหาแนวทางแก้ไขร่วมกัน
               2. บริษัทฯ หลีกเลี่ยงการรับหรือจ่ายผลประโยชน์ใดๆ ที่ไม่สุจริตในการดำเนินธุรกิจกับเจ้าหนี้ นอกจากผลประโยชน์ตามข้อตกลงการดำเนินธุรกิจทั้งสองฝ่าย
               3. บริษัทฯ รายงานภาระหนี้ ข้อมูลทางการเงิน หรือข้อมูลอันเกี่ยวข้องที่เจ้าหนี้ควรรับรู้อย่างถูกต้อง ครบถ้วน และตรงเวลาให้แก่เจ้าหนี้เมื่อมีการร้องขอ
               4. บริษัทฯ ให้ความสำคัญต่อการบริหารจัดการเงินทุน บริหารกระแสเงินสด และการชำระหนี้ โดยให้มีโครงสร้างเหมาะสมกับการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ เพื่อรักษาความเชื่อมั่นต่อเจ้าหนี้
               5. บริษัทฯ ปฏิบัติอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม โดยตั้งอยู่บนพื้นฐานของการได้รับผลตอบแทนที่เสมอภาคและเป็นธรรมทั้งสองฝ่าย
               6. บริษัทฯ ไม่มีส่วนร่วมในกิจกรรมของเจ้าหนี้อันขัดต่อผลประโยชน์ หรือ ทุจริต อันอาจก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัทฯ
 

การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

     
          ห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) คือ เครือข่ายความสัมพันธ์ระหว่างบริษัทและ คู้ค้าของบริษัทในการผลิต และส่งมอบสินค้า ที่แสดงให้เห็นถึงขั้นตอนของการได้มาซึ่งสินค้าตั้งแต่การจัดหาวัตถุดิบ การผลิต การขนส่ง ไปจนถึงการส่งมอบสินค้าหรือบริการไปยังลูกค้า ห่วงโซ่อุปทานอยางยั่งยืน (Sustainable Supply Chain) คือ การจัดการผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และเศรษฐกิจ รวมทั้งการส่งเสริมให้มีการกำกับดูแลกิจการที่ดี ตลอดทั้งวัฏจักรชีวิตของการผลิตและส่งมอบ สินค้าและบริการ
          บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นที่จะบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนร่วมกับคู่ค้าของบริษัท   ซึ่งวัตถุดิบเป็นป้จจัยการผลิตที่มีความสำคัญที่ต้องให้ความสำคัญด้านคุณภาพที่ได้มาตรฐาน  การได้มาซึ่งวัตถุดิบต้องปฏิบัติตามมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม  ข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน และโปร่งใสตรวจสอบได้ ซึ่งเป็นมาตรฐานสากลที่บริษัทฯ และคู่ค้าจะต้องดำเนินการร่วมกัน เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งในตลาดในประเทศและตลาดโลก ที่มีความต้องการสินค้าที่ยั่งยืนเพิ่มขึ้น 

 

ความมุ่งมั่นในการดำเนินกิจกรรมในห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

บริษัทฯ มีความมุ่งมั่นเป็นอย่างยิ่งที่จะดำเนินธุรกิจกับคู่ค้าของบริษัทอย่างยั่งยืน นอกเหนือจากการ ซื้อขายวัตถุดิบที่สำคัญที่ใช้ในการผลิตสินค้าของบริษัทฯ แล้ว ยังต้องดำเนินการปฏิบัติตามมาตรฐานด้าน สิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้อง การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านสิทธิมนุษยชน การปฏิบัติตามข้อกำหนดด้านชีวอนามัย และความปลอดภัย มีการปฏิบัติงานที่โปร่งใส ต่อต้านการแข่งขันที่ไม่เป็นธรรม ซึ่งการปฏิบัติตามมาตรฐาน และ/หรือข้อกำหนดดังกล่าว จะทำให้บริษัทฯ เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางธุรกิจ ทั้งตลาดในประเทศและตลาดโลก โดยมีความต้องการของลูกค้าที่ต้องการสินค้าที่ยั่งยืน เป็นแรงผลักดันที่สำคัญ
          ในการนี้ บริษัทฯ จึงได้ปรับเพิ่มข้อกำหนดในจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า และแบบประเมินตนเองของคู่ค้า เกี่ยวกับประเด็นด้านความยั่งยืนดังกล่าว อีกทั้งยังได้ปรับกระบวนการทำงาน ให้คำนึงถึงประเด็นสังคมและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้เกิดการปฏิบัติจริง โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้

 

แนวทางการดำเนินงาน

          บริษัทมอบหมายให้ฝ่ายจัดซื้อ  เป็นผู้รับผิดชอบในการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ โดยรายงานตรงต่อกรรมการผู้จัดการฝ่ายวางแผนและบริหารทรัพยากร และรายงานความคืบหน้าในการดำเนินงานต่อคณะกรรมการบริหาร โดยฝ่ายจัดซื้อมีหน้าที่บริหารจัดการความเสี่ยงที่ที่เกิดจากคู่ค้า  พัฒนาระเบียบการปฏิบัติงานจัดซื้อในครอบคลุมข้อปฏิบัติด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล จัดทำและเผยแพร่จรรยาบรรณทางธุรกิจสำหรับคู่ค้า และประกาศเจตนารมย์ของบริษัทฯ ในด้านการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน โดยแนวทางการดำเนินงาน สรุปเป็นหัวข้อได้ดังนี้

1.การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้า

1.1.เกณฑ์การระบุและคัดเลือกคู่ค้า – Critical Tier 1, Non Critical Tier 1  คู่ค้ารายใหม่
1.2.การบริหารจัดการความเสี่ยงกับคู่ค้า

2.การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

2.1.นโยบายหรือข้อปฏิบัติการจัดซื้อจัดจ้าง  มีการกำหนดประเด็นทางด้านสังคม และ สิ่งแวดล้อมไว้ในระเบียบปฏิบัติ 
2.2.จรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า
2.3.การดำเนินการ On-site ESG Audit ตามหลักเกณฑ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

3.การมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้แก่คู่ค้า

3.1.การส่งเสริมศักยภาพและความยั่งยืนร่วมกับคู่ค้า
3.2.กิจกรรมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจอย่างยั่งยืนกับคู่ค้า

1. การบริหารความเสี่ยงที่เกิดจากคู่ค้า

1.1 เกณฑ์การระบุและคัดเลือกคู่ค้าที่สำคัญ

  • บริษัทฯ ได้ระบุคู่ค้าที่สำคัญ คือ ผู้จัดจำหน่าย หรือ ผู้จัดหาวัตถุดิบ  ที่เป็นหัวใจสำคัญที่ใช้ในการแปรรูปสินค้า จากน้ำยางสด เป็น น้ำยางข้น  ยางสกิม  และ ยางเครป   มีความถี่ในการซื้อขายกันเป็นประจำ  โดยมีเกณฑ์การแบ่งกลุ่มคู่ค้า เป็น 2 กลุ่ม คือ Critical Tier 1 และ Critical Non-Tier 1 สำหรับวัตถุดิบหลัก และ วัตถุดิบรอง ดังนี้

 

กลุ่มวัตถุดิบ

คู่ค้ากลุ่ม
Critical Tier 1

คู่ค้ากลุ่ม
Critical Non-Tier 1

กลุ่มวัตถุดิบหลัก

  • น้ำยางสด

  • พ่อค้าคนกลาง

  • กลุ่มเกษตรกร / สหกรณ์

  • ตลาดการยางแห่งประเทศไทย

  • เกษตรกร/กลุ่มเกษตรกร/สหกรณ์:

กลุ่มวัตถุดิบรอง

  • สารเคมี / สารประกอบ อื่น ๆ ที่จำเป็นในการแปรรูปน้ำยาง

  • ผู้จัดจำหน่าย / พ่อค้าคนกลาง

  • ผู้จัดจำหน่ายและผู้ผลิต (กรณีเป็นบริษัท เดียวกัน)

  • ผู้ผลิตสินค้า

 

 
การคัดเลือกคู่ค้า บริษัทฯ ได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการคัดเลือก ดังนี้

  • คุณภาพของสินค้า ต้องมีคุณสมบัติได้มาตรฐานตามที่บริษัทฯกำหนดส่งเสริมให้สินค้าของบริษัทฯ มีคุณภาพที่ดีมีมาตรฐาน เช่นเดียวกัน 

  • ราคาของสินค้า เป็นตัวบ่งชี้หลักในการคัดเลือกคู่ค้า   เนื่องจากราคาของสินค้าเป็นต้นทุนในการผลิตสินค้าของบริษัทฯ หากบริษัทฯ ได้ราคาที่เหมาะสมหรือต่ำกว่าผู้ขายรายอื่น จะทำให้บริษัทฯ มีความสามารถในการแข่งขันด้านราคาในตลาด

  • ระยะเวลาการสั่งซื้อและการจัดส่งสินค้า ความรวดเร็วของการจัดส่ง และปริมาณที่จัดส่งที่แม่นยำ เป็นไปตามการสั่งซื้อ หากระยะเวลาการสั่งซื้อและจัดส่งสินค้า ใช้เวลานานส่งผลให้บริษัทฯ มี ต้นทุนในการเก็บรักษาที่สูงขึ้น

  • การให้บริการ กรณีเป็นสินค้าที่ต้องการบริการหลังการขาย ทางผู้ขายมีศักยภาพให้การบริการ ได้รวดเร็วและตรงประเด็น ซึ่งจะช่วยให้การดำเนินงานของบริษัทฯ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

  • การดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืน   คำนึงถึงผลกระทบด้านลบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม โดยผู้ขายยินดีที่ จะปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจของบริษัทฯ และยินดีลงลายมือชื่อเป็นลายลักษณ์อักษร พร้อมทั้งยินดีให้บริษัทฯ เปิดเผยหากบริษัทฯ มีความจำเป็นต้องแสดงความโปร่งใสในการดำเนินงานเช่นกัน

1.2 การบริหารจัดการความเสี่ยงกับคู่ค้า

1.2.1 การระบุประเด็นความเสี่ยงกับคู่ค้า  บริษัทฯ ได้ระบุประเด็นความเสี่ยงที่อาจขึ้นจากการดำเนินงานของคู่ค้าในห่วงโซ่อุปทาน  ในด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล  โดยสรุปได้ดังนี้

 

ความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม

ความเสี่ยงด้านสังคม

ความเสี่ยงด้านธรรมภิบาลและเศรษฐกิจ

  • การปล่อยมลพิษและของเสีย

  • การใช้ทรัพยากรอย่างไม่ยั่งยืน

  • การไม่ปฏิบัติตามกฎหมายสิ่งแวดล้อม

  • การละเมิดสิทธิมนุษยชน

  • สภาพการทำงานที่ไม่ปลอดภัย

  • การละเมิดสิทธิของชุมชน

  • การพึ่งพาคู่ค้าน้อยราย

  • การคอร์รัปชั่นและการติดสินบน

  • การขาดความโปร่งใส

  • การไม่ปฏิบัติตามกฏหมายและข้อบัง

 

1.2.2 การบริหารจัดการความเสี่ยงกับคู่ค้า ด้านเศรษฐกิจ  สังคม และสิ่งแวดล้อม

(ดูรายละเอียดในเอกสารแนบ 1 : การบริหารจัดการความเสี่ยงกับคู่ค้า)


ผลการดำเนินงานปี 2566
          ในปี 2566 ผลการตอบแบบประเมินตนเองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ เศรษฐกิจจากคู่ค้าและผลการตรวจประเมินความเสี่ยงด้าน สิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมภิบาล  ในพื้นที่ปฏิบัตการพบว่า ไม่มีประเด็นความเสี่ยง


2. การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน

2.1 ระเบียบการปฏิบัติงานจัดซื้อ  มีการกำหนดประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล  ไว้ในเอกสาร และ มีแบบประเมินตนเองที่สอดคล้องกับหัวข้อดังกล่าว

2.2 จรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า

  • การติดตามการปฏิบัติตามจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจ  บริษัทฯ มีการติดตามจรรยาบรรณการดำเนินธุรกิจของคู่ค้าที่สำคัญในประเด็นด้านเศรษฐกิจ  สิ่งแวดล้อม และสังคมเป็นประจำทุกปี โดยทั่วไปแล้วบริษัทฯ จะดำเนินการเข้าเยี่ยมคู่ค้าสำคัญของบริษัท โดยตรง (On-Site Visit) เพื่อตรวจสอบสถานะทางธุรกิจของคู่ค้าและประเมินการปฏิบัติตามจรรณยาบรรณไปพร้อมกัน อย่างไรก็ดี ในปี 2566 บริษัทฯได้ตรวจสอบคู่ค้าผ่านระบบการประชุมออนไลน์และการเข้าเยี่ยมคู่ค้าสำคัญของบริษัทโดยตรง ผ่านแบบประเมินตนเองของคู่ค้า

  • ในปี 2566  บริษัทฯ ได้สื่อสารจรรยาบรรณทางธุรกิจของคู่ค้า และปรับปรุงแบบประเมินตนเองของคู่ค้าให้รัดกุมขึ้นในด้านสิ่งแวดล้อม  สังคม  และธรรมาภิบาล

  • ​ผลการดำเนินงานปี 2566

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงานปี2566 

คู่ค้ารับทราบจรรยาบรรณทางธุรกิจ 

100%

100%

คู่ค้าลงนามรับทราบการปฏิบัติตามจรรยาบรรณทางธุรกิจ 

100%

98%

คู่ค้าตอบแบบประเมินตนเอง

100%

100%

 

2.3 การดำเนินการตรวจสอบ การดำเนินงานด้าน ESG ของคู่ค้า ตามแนวทางการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืน  มีหลักเกณฑ์ดังนี้

 

ตัวชี้วัด

กลุ่ม Critical Tier 1

กลุ่ม Critical Non-Tier 1

บริษัทดำเนินการ Site Audit

ทุก ๆ 2 ปี ต่อราย

n/a

คู่ค้าทำแบบประเมินตนเอง

ทุกปี ต่อราย

ทุกปี ต่อราย

 
2.4 บริษัทฯ จะดำเนินการตรวจติดตามผลการปรับปรุงการดำเนินงานกับคู่ค้าเป็นประจำทุกปี


ผลการดำเนินงานในปี 2566
          ผลการดำเนินการ Site Audit และ ผลตอบแบบประเมินตนเองด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และ ธรรมาภิบาลจากคู่ค้า  พบว่า ไม่มีประเด็นความเสี่ยงด้าน ESG  100%  และอัตราการเปิดเผยการดำเนินงานด้าน ESG สามารถสรุปได้ดังนี้ 

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

คู่ค้ากลุ่ม
Critical Tier 1

คู่ค้ากลุ่ม
Critical Non-Tier 1

ร้อยละของจำนวนบริษัทที่ได้รับ Site Audit จากเป้าหมาย

100%

75%

n/a

คู่ค้าทำแบบประเมินตนเอง

100%

100%

100%


3. การมีส่วนร่วมในการดำเนินธุรกิจอย่างยั่งยืนให้แก่คู่ค้า

3.1 การส่งเสริมศักยภาพและความยั่งยืนร่วมกับคู่ค้า

          ในปี 2566 บริษัทฯ ได้ปรับปรุงการสื่อสารด้านความยั่งยืนและการประเมินตนเองด้านความยั่งยืนกับคู่ค้า เพื่อสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญของการเปิดเผยข้อมูล และเริ่มทำกิจกรรมที่จะพัฒนาความยั่งยืนไปด้วยกัน โดยกิจกรรมที่ดำเนินการ

3.1.1 การสื่อสารกับคู่ค้าเกี่ยวกับความสำคัญของการจัดการห่วงโซ่อุปทานอย่างยั่งยืนแบบบูรณาการ วาง แผนพัฒนาศักยภาพส่งเสริมสนับสนุน และผลักดัน  บริษัทคู่ค้าให้มีการจัดการที่ดีไปด้วยกัน
3.1.2 การประเมินศักยภาพจะทำผ่านแบบประเมินตนเอง และ Site Audit และวางแนวทางการพัฒนากับคู่ค้าร่วมกัน 
3.1.3 การยกระดับศักยภาพด้านความยั่งยืนของคู่ค้า จะมีการวางแนวทางการพัฒนาร่วมกัน โดยนำผลประเมินในหัวข้อที่ยังต้องปรับปรุงมากำหนดการดำเนินงาน และตรวจติดตามผลตามระยะเวลาที่กำหนด รายงานผลและเปิดเผยในรายงานความยั่งยืนของบริษัทฯ และของคู่ค้า

ผลการดำเนินงานปี 2566
         
          ผลการประเมินพบว่า 25% ของคู่ค้า ยังต้องปรับปรุงวิธีการบริหารงานด้านสิ่งแวดล้อมและสังคม  โดยบริษัทฯ ได้ สื่อสาร ให้คำแนะนำแนวทางในการดำเนินงาน และตรวจติดตามผลในปีถัดไป

ตัวชี้วัด

เป้าหมาย

ผลการดำเนินงาน ปี 2566

ด้านสิ่งแวดล้อม

100%

75%

ด้านสังคม/การใช้แรงงาน/ความปลอดภัย

100%

75%

ด้านธรรมาภิบาล / การดำเนินธุรกิจ

100%

100%

ด้านสินค้า และ บริการ

100%

100%


3.2 กิจกรรมเพื่อพัฒนาการดำเนินงานธุรกิจอย่างยั่งยืนกับคู่ค้า

  • จัดประชุมกับคู่ค้ารายไตรมาศ  สื่อสารผลการประเมินด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล

  • วางแผนโครงการพัฒนาด้านความยั่งยืน และตั้งเป้าหมายร่วมกับคู่ค้า

  • ตรวจติดตามผลตามระยะเวลาของโครงการ   


การรักษาความปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและความปลอดภัยทางไซเบอร์


วัตถุประสงค์และขอบเขต
     บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กำหนดนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยกำหนดให้เป็นมาตรฐานแนวปฏิบัติขั้นตอนปฏิบัติให้ครอบคลุมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังต่อไปนี้

  1. การจัดทำนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นและมีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร หรือเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของบริษัททำให้ดำเนินงานได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
  2. กำหนดขอบเขตของการบริหารจัดการความมั่นคงปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร อ้างอิงตามมาตรฐาน ISO/IEC 27001 และมีการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง
  3. นโยบายนี้จะต้องทำการเผยแพร่ให้เจ้าหน้าที่ทุกระดับในบริษัทได้รับทราบ และเจ้าหน้าที่ทุกคน จะต้องถือปฏิบัติตามนโยบายนี้อย่างเคร่งครัด
  4. เพื่อกำหนดมาตรฐานแนวทางปฏิบัติและวิธีปฏิบัติให้ผู้บริหารเจ้าหน้าที่ผู้ดูแลระบบ และบุคคลภายนอกที่ปฏิบัติงานให้กับบริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัทในการดำเนินงานและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
  5. ระบบและระเบียบปฏิบัติจะต้องตรวจสอบ ทบทวน และประเมินผลทุกปี
 
องค์ประกอบของนโยบาย

 
การดำเนินการตอบสนองเหตุการณ์ความมั่นคงปลอดภัยทางระบบสารสนเทศ
     องค์ประกอบของนโยบายการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัทแต่ละส่วนที่กล่าวข้างต้น จะประกอบด้วยวัตถุประสงค์รายละเอียดของมาตรฐาน (Standard) แนวทางปฏิบัติ (Guideline) และขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ (Procedure) ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของบริษัท เพื่อที่จะทำให้บริษัทมีมาตรการในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และการสื่อสารอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ช่วยลดความเสียหายต่อการดำเนินงานทรัพย์สินบุคลากรของบริษัท ทำให้สามารถดำเนินงานได้อย่างมั่นคงปลอดภัยนโยบายการเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัทนี้ จัดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของบริษัท ซึ่งเจ้าหน้าที่ของบริษัทและหน่วยงานภายนอกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
 

กิจกรรม
  • การรายงานภัยคุกคามใหม่ๆ ให้แก่คณะกรรมการบริหาร ประจำทุกเดือน
  • จัดทำสื่อ และทำการประชาสัมพันธ์ในช่องทางต่างๆ ความรู้เกี่ยวกับภัยทางไซเบอร์และมาตรการป้องกัน เพื่อเป็นการให้ความรู้ และพร้อมรับมือในแต่ละรูปแบบ
  • จัดให้มีการจำลองสถานการณ์การโจมตีด้วยภัยคุกคามทางไซเบอร์ เพื่อให้เกิดความคุ้นเคยและสร้างกระบวนการตอบสนองต่อภัยคุกคามทางไซเบอร์  ปีละ 1 ครั้ง
  • จัดกิจกรรมสัมมนา และเกมส์ออนไลน์เพื่อให้พนักงาน หรือผู้สนใจทั่วไปได้ร่วมกิจกรรมอย่างสนุกสนามและได้ความรู้ไปพร้อมกัน มาร่วมแบ่งปันถึงภัยไซเบอร์
  • จัดทำ Security Tips, Security Alert และข้อมูลอื่นๆ ที่เป็นประโยชน์เกี่ยวกับความปลอดภัยข้อมูลและไซเบอร์
  • จัดทดสอบ Phishing Drill โดยส่งอีเมลปล่อมให้พนักงานของบริษัทฯ เพื่อทดสอบและสร้างความตระหนัก ตลอดจนเป็นการฝึกวิธีการรับมือเมื่อพนักงานได้รับอีเมลปลอมในสถานการณ์จริงอย่างสม่ำเสมอ โดยผลจากการทดสอบพบว่าพนักงานตระหนักและระมันระวังในการสังเกต Phishing Mail มากขึ้น


นโยบายภาษี

          บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) และกลุ่มบริษัท (“บริษัทฯ”) ดำเนินธุรกิจภายใต้ปณิธาณ อย่างแน่วแน่ในการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่าเพื่อผลิตสินค้าที่ดีเหนือกว่ามาตรฐานสากล รวมทั้งให้ความสำคัญกับ การดำเนินธุรกิจด้วยจริยธรรมและความโปร่งใสและการปฏิบัติตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และ ความรับผิดชอบในการเป็นผู้เสียภาษีที่ดีซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นในการพัฒนาประเทศและสร้างความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ดังนั้นเพื่อให้มีการบริหารจัดการด้านภาษี ที่รัดกุมโดยตระหนักถึงความเสี่ยงที่เกี่ยวข้องกับภาษีทั้งทางตรงและ ทางอ้อม และปฏิบัติตามประมวลกฎหมายประมวลรัษฎากรและกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง คณะกรรมการบริษัทฯ จึงกำหนดนโยบายการปฏิบัติด้านภาษี ดังนี้

1. การวางแผนและแนวทางการปฏิบัติทางด้านภาษี
- ดำเนินการบริหารจัดการ การวางแผนด้านภาษีอากร และการเสียภาษีอากรให้เป็นไปตามกฎหมาย ภาษีที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ประเทศ
- ดำเนินการนำส่งภาษีหรือขอคืนภาษีอย่างถูกต้อง เหมาะสม และภายในระยะเวลาที่กฎหมายหรือ กฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกำหนด
- ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีหรือมาตรการยกเว้นต่างๆเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับบริษัทฯภายใต้ ข้อกำหนดที่เกี่ยวข้องรวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลที่โปร่งใสต่อหน่วยงานราชการหรือองค์กรที่กี่ยวข้อง
- ไม่มีนโยบายการลงทุนหรือดำเนินธุรกิจในประเทศที่เป็นแหล่งปลอดภาษี (Tax Haven) เพื่อ หลีกเลี่ยงภาษี
- การกำหนดราคาโอนในธุรกรรมการซื้อขาย หรือบริการระหว่างกันเป็นไปตามราคาตลาดโดยปกติ ทั่วไปเพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้องตามกฎหมาย     

2. การบริหารความเสี่ยงทางด้านภาษี
          บริษัทฯ มีโครงสร้างการบริหารจัดการความเสี่ยง กำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบไว้ โดยจะพิจารณา การปฏิบัติการต่างๆ รวมทั้งหารือเพิ่มเติมและรายงานต่อฝ่ายบริหาร ตามความเสี่ยงที่เกิดขึ้นอย่างเหมาะสม โดยมุ่งเน้นการปฏิบัติ เพื่อให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์หรือหลักกฎหมายที่เกี่ยวข้อง 

3. การประสานงานด้านภาษี
- บริษัทมีการจัดการให้มีผู้รับผิดชอบด้านภาษีที ่มีความรู้ และทักษะด้านภาษี ในการให้คำแนะนำ ประเด็นภาษีที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินงาน การปฏิบัติตามกฎหมายภาษีอากร การติดต่อ ประสานงาน กับหน่วยงานราชการเพื่อให้ข้อมูลทางภาษีที่ถูกต้องตรงตามข้อเท็จจริงในการดำเนิน ธุรกิจ รวมถึงการ สร้างความสัมพันธ์กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและรักษาแนวปฏิบัติที่ถูกต้องตามกฎหมาย
- พิจารณาการมีที่ปรึกษาหรือผู้เชี่ยวชาญทางภาษีที่ให้ความรู้ คำแนะนำแก่บุคลากรภายในองค์กร เกี่ยวกับภาษีเพื่อให้ปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องตามกฎหมายภาษีอากร 

4. ความโปร่งใสด้านภาษี
          การดำเนินการ การสื่อสารต่างๆ รวมทั้งการเปิดเผยข้อมูลอยู่บนพื้นฐานความโปร่งใส เป็นไปตามข้อกำหนดหลักการตามกฎหมายภาษีอากรและที่เกี่ยวข้อง

การพัฒนานวัตกรรมทางธุรกิจ

    THAITEX ให้ความสำคัญกับการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมขององค์กร เพื่อให้บริษัท ฯ มีการปรับตัวและพัฒนาธุรกิจให้สามารถเติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมทั้งเพื่อเป็นการสร้างมูลค่าในระยะยาวให้แก่ธุรกิจ และสร้างคุณค่าหรือประโยชน์ต่อลูกค้าหรือผู้ที่เกี่ยวข้อง จึงกำหนดนโยบายการพัฒนาและส่งเสริมนวัตกรรมขององค์กร 

จรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริหารคู่ค้า 
บทนำ
          กลุ่มบริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป (“กลุ่มบริษัท) มีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เติบโตอย่างยั่งยืน ด้วยความโปร่งใสสุจริต เป็นไปตามกฎหมาย รวมถึงให้ความสำคัญต่อหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี และความรับผิดชอบต่อสังคมด้วยเหตุนี้ กลุ่มบริษัท จึงได้กำหนดจรรยาบรรณธุรกิจสำหรับบริษัทคู่ค้า (Supplier Code of Conduct) เพื่อให้คู่ค้าใช้เป็นแนวทางการปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจสอดคล้องกับข้อกำหนดกฎหมาย และจรรยาบรรณของบริษัท ตลอดจนมาตรฐานสากล ซึ่งจะช่วยผลักดันให้คูค้าของกลุ่มบริษัทดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรม คำนึงถึงสิทธิมนุษยชน เกิดความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงปฏิบัติตามมาตรฐานความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้กลุ่มบริษัทมุ่งหวังให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจตามหลักการที่ระบุไว้ในนโยบายฉบับนี้ รวมถึงสนับสนุนให้คู่ค้ามีนโยบายการจัดจ้างอย่างยั่งยืนในการดำเนินธุรกิจตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน ยกระดับขีดความสามารถทางการแข่งขัน และเสริมสร้างการเติบโตในระยะยาวไปด้วยกัน

นิยาม
          คู่ค้า หมายถึง ผู้ขายสินค้า ผู้รับจ้าง และ/หรือ ผู้ให้บริการ ทั้งที่เป็นนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาแก่กลุ่มบริษัทรวมถึงผู้รับจ้างช่วงของผู้ขายสินค้าผู้รับจ้างและ/หรือผู้ให้บริการดังกล่าว

ปรัญชาในการดำเนินธุรกิจ
          บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจภายใต้ปณิธานอันแน่วแน่ ในด้านการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่า เพื่อผลิตสินค้าที่ดีและมีคุณภาพที่เหนือกว่ามาตรฐานสากลอันเป็นที่ยอมรับกันในระดับนานาชาติ รวมถึงการนำนวัตกรรมใหม่ ๆ มาใช้ในด้านการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของผู้บริโภค และให้สอดคล้องกับการพัฒนาของตลาดโลกอย่างยั่งยืน
          ด้วยเหตุผลดังกล่าว คณะกรรมการบริษัทจึงกำหนดเป้าหมาย และวิธีการต่างๆ เพื่อให้ได้มาซึ่งความสำเร็จตามเป้าหมายดังที่ระบุอยู่ในวิสัยทัศน์ พันธกิจ ค่านิยม หลักการ นโยบาย รวมถึงจริยธรรม และจรรยาบรรณธุรกิจฉบับนี้ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและถูกต้องแก่กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานของกลุ่มบริษัท ในอันที่จะ ได้รับทราบถึงมาตรฐานการปฏิบัติงานตามที่กลุ่มบริษัทคาดหวัง และยึดถือเป็นแนวทางในการปฏิบัติงาน นับตั้งแต่การปฏิบัติงาน ผู้ถือหุ้น ลูกค้าคู่ค้า คู่แช่งทางการค้า ผู้มีส่วนได้เสีย และสังคมโดยรวม
  • วิสัยทัศน์ (Vision) เราจะเป็นผู้นำด้านนวัตกรรมในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำยางข้นของโลก โดยสร้างสรรค์สินค้าคุณภาพที่เป็นมิตรต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม และพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆ เพื่อความยั่งยืนและมั่นคงของธุรกิจ
  • พันธกิจ (Mission) เป็นผู้ผลิตน้ำยางข้นที่มุ่งเน้นในคุณภาพเหนือกว่ามาตรฐานสากล เพื่อสนองตอบความต้องการและความพึงพอใจสูงสุดของลูกค้า
  •  ค่านิยม (Values)
“T” = การทำงานเป็นทีม การทำงานเป็นทีม (Teamwork)
“H” = คุณภาพดีเหนือกว่ามาตรฐาน คุณภาพดีเหนือกว่ามาตรฐาน (High Quality)
“A” = ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลงาน ความรับผิดชอบต่อหน้าที่และผลงาน (Accountability)
“I” = ความซื่อสัตย์ ความซื่อสัตย์ (Integrity)
“T” = ความโปร่งใส ความโปร่งใส (Transparency)
“E” = ความมีประสิทธิภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม ความมีประสิทธิภาพ และรักษาสิ่งแวดล้อม (Efficiency and Environment)
“X” = มุ่งสู่ความเป็นเลิศ มุ่งสู่ความเป็นเลิศ (Excellence)

1. จรรยาบรรณทางธุรกิจ  (Business Ethics)
1.1 การกำกับดูแลกิจการ: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานของความถูกต้อง ซื่อสัตย์ สุจริต โปร่งใส ตรวจสอบได้โดยคำนึงถึงผู้มีส่วนได้เสียภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี รวมถึงปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องอย่างเคร่ง และไม่กระทำใดๆ ที่เป็นการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบ
1.2 การประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เป็นธรรม มีจรรยาบรรณ และตั้งมั่นที่จะแข่งขันทางการค้าตามหลักจริยธรรมในการประกอบการค้า กฎหมาย และหลักแข่งขันทางการค้าอย่างเสมอภาคกัน รวมถึงปฏิเสธพฤติกรรมใดๆ ก็ตามที่ขัดขวางการแข่งขันอย่างเป็นธรรม
1.3 ความขัดแย้งทางผลประโยชน์: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องไม่กระทำการใดๆ เพื่อแสวงหาผลประโยขน์ส่วนตน หรือ เอื้อประโยชน์แก่บุคคลใกล้ชิด จากตำแหน่งหน้าที่และโอกาสต่างๆ ที่อาจจะก่อให้เกิดความขัดแย้งทางผลประโยชน์ หรือมีส่วนได้เสียระหว่างคู่ค้ากับบุคลากรของกลุ่มบริษัท
1.4 การรักษาข้อมูลอันเป็นความลับ: คู่ค้าของกลุ่มบริษัทต้องไม่เผยแพร่ หรือไม่นำข้อมูลที่เป็นความลับ และ/หรือ ข้อมูลภายในของกลุ่มบริษัท ไปแสวงหาผลประโยชน์แก่ตนเอง หรือเพื่อประโยชน์แก่บุคคลอื่นใด ไม่ว่าโดยทางตรง หรือทางอ้อม และไม่นำข้อมูลดังกล่าวไปใช้โดยไม่ได้รับความยินยอม
1.5 การใช้ และการดูแลทรัพย์สินทางปัญญา: คู่ค้าของกลุ่มบริษัทต้องให้ความเคารพ และไม่ละเมิดทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่น ซึ่งรวมถึง เครื่องหมายทางการค้าสิทธิบัตร และไม่ปลอมแปลงหรือใช้ทรัพย์สินทางปัญญาของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
1.6 การต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องไม่กระทำ หรือสนับสนุนการทุจริตคอร์รัปชันทุกรูปแบบทั้งในทางตรงและทางอ้อม รวมถึงจัดให้มีนโยบายการต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อป้องกันและต่อต้านการทุจริตคอร์รัปชัน ตลอดจนควรเข้าร่วมประกาศเจตนารมณ์และขอรับรองการเป็นสมาชิกแนวร่วมปฏิบัติภาคเอกชนไทยในการต่อต้านทุจริต (CAC)

2. ด้านสิทธิมนุษยชนและแรงงาน (Labor Practice and Human Right)
2.1 การไม่เลือกปฏิบัติการ: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องเคารพในศักดิ์ศรีของลูกจ้าง ให้เกียรติซึ่งกันและกัน และปฏิบัติต่อกันอย่างเท่าเทียม โดยไม่แบ่งแยกจากความแตกต่างในกาย จิตใจ เชื้อชาติ ศาสนา เพศ ภาษา อายุ สีผิว การศึกษา สถานะทางสังคม หรือในเรื่องอื่นใด
2.2 การไม่บังคับใช้แรงงาน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องไม่ใช้แรงงานบังคับ แรงงานที่มาจากการค้ามนุษย์ หรือแรงงานเด็กอันมิชอบด้วยกฎหมายรวมถึงการลงโทษที่เป็นการทารุณร่างกาย หรือจิตใจพนักงาน ไม่ว่าด้วยการขู่เข็ญ การกักขัง หน่วงเหนี่ยว การคุกคาม การข่มขู่ การล่วงละเมิด หรือการใช้ความรุนแรงไม่ว่าในรูปแบบใด
2.3 การคุ้มครองสิทธิแรงงาน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องไม่จ้างแรงงานที่ผิดกฎหมาย ในกรณีที่มีการแจ้งแรงงานเด็กที่มีอายุ 15 ปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 18 ปี ต้องจัดให้แรงงานได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายกำหนด หากเป็นแรงงานต่างด้าว ต้องดำเนินการว่าจ้างให้ถูกต้องตามกฎหมายอย่างครบถ้วน
2.4 ค่าจ้าง สิทธิประโยชน์ และระยะเวลาการทำงาน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องจ่ายค่าตอบแทน ให้เหมาะสมตามความสามารถและศักยภาพของพนักงาน รวมถึงให้สิทธิประโยชน์ที่ลูกจ้างพึงได้รับตามกฎหมาย ไม่ต่ำกว่าเกณฑ์มาตรฐานกำหนด และตรงตามกำหนดเวลา การทำงานล่วงเวลา หรือทำงานในวันหยุด ต้องเป็นไปด้วยความสมัครใจของลูกจ้าง รวมทั้งจัดให้ลูกจ้างมีวันหยุด วันลาไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนด
2.5 การเลิกจ้าง: ในกรณีคู่ค้าของกลุ่มบริษัท มีการเลิกจ้างต้องมีกระบวนการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน
 
3. ด้านความปลอดภัย และอาชีวอนามัย (Safety and Occupational Health) 
3.1 ความปลอดภัยและสภาพแวดล้อมในการทำงาน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องจัดสภาพแวดล้อมในการทำงานให้มีความปลอดภัย ดีต่อสุขภาพ และถูกหลักอนามัยให้กับพนักงาน รวมถึงมีการควบคุมและป้องกันให้เป็นไปตามกฎหมาย เพื่อลดการเกิดอุบัติเหตุ เหตุฉุกเฉิน การเจ็บป่วย และการบาดเจ็บที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงาน
3.2 อุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคล: คู่คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องให้ข้อมูลเกี่ยวกับอันตรายที่มีในสถานที่ทำงานแก่ผู้ปฏิบัติงานและผู้ที่เกี่ยวข้องอย่างเพียงพอ มีการประเมินความเสี่ยง พร้อมทั้งจัดเตรียมอุปกรณ์ป้องกันอันตรายส่วนบุคคลที่ได้มาตรฐานและเหมาะสม
3.3 การเตรียมความพร้อมในสถานการณ์ฉุกเฉิน: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องมีการกำหนดแผนเตรียมความพร้อมรับมือเมื่อเกิดเหตุฉุกเฉิน เช่น การติดตั้งระบบป้องกันและระงับอัคคีภัย การรายงานเหตุฉุกเฉิน การฝึกอบรมและฝึกซ้อมให้กับพนักงานอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงการสื่อสารให้พนักงานมีความเข้าใจเกี่ยวกับมาตรการรักษาความปลอดภัย เพื่อให้ปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง และทันท่วงทีเมื่อเกิดสถานการณ์ที่ไม่ปกติ
 
4. สิ่งแวดล้อม (Environment)
4.1 ปฏิบัติตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ และมาตรฐานด้านสิ่งแวดล้อม: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องปฏิบัติตาม กฎระเบียบ ด้านสิ่งแวดล้อม รวมถึงให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามข้อตกลงระดับสากลในเรื่องต่างๆ เพื่อช่วยป้องกัน หรือลดผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม
4.2 ใช้ทรพยากรอย่างคุ้มค่า และลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม: คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องให้ความสำคัญต่อการประหยัดพลังงาน และใช้ทรัพยากรอย่างรู้คุณค่าและ มีประสิทธิภาพ เช่น การลดการใช้น้ำ ไฟฟ้า น้ำมัน เป็นต้น รวมทั้งส่งเสริมการทำธุรกิจที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม ซึ่งจะส่งผลดีต่อการทำธุรกิจในระยะยาว

5. ความรับผิดชอบต่อสังคม (Corporate Social Responsibility)
           คู่ค้าของกลุ่มบริษัท ต้องดำเนินธุรกิจที่เป็นประโยชน์ต่อเศรษฐกิจ และสังคม ยึดมั่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี ปฏิบัติตามกฎหมายและข้อคังคับที่เกี่ยวข้องอย่างครบถ้วน พร้อมทั้ง มุ่งมั่นที่จะดำเนินการยกระดับคุณภาพของชุมชนและสังคม รวมถึงส่งเสริมการปลูกฝังจิตสำนึกของพนักงานให้มีความรับผิดชอบสังคมอย่างจริงจัง และต่อเนื่อง เพื่อให้เป็นวัฒนธรรมองค์กรที่ดีอย่างยั่งยืนต่อไป

6. ช่องทางการแจ้งเบาะแส และข้อร้องเรียน (Whistleblowing Channels)
          กรณีที่คู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มมีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำที่สงสัยว่าเป็นการฝ่าฝืนกฎหมาย ข้อบังคับ หรือจรรยาบรรณ ท่านสามารถแจ้งเบาะแส หรือข้อร้องเรียน พร้อมส่งรายละเอียดหลักฐานต่างๆ ในช่องทางการติดต่อ ดังนี้
  • จดหมายอิเล็กทรอนิกส์จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ได้ที่ได้ที่
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ E-Mail: [email protected]
  • ไปรษณีย์ โดยระบุหน้าซองถึงหรือยื่นโดยตรงได้ที่
- ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ

          ที่อยู่ บริษัท ไทยรับเบอร์ลาเท็คซ์กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) 99/1-3 หมู่ที่ 13 ถนนบางนา-ตราด กม.7 ตำบบางแก้ว อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ 10540
          โดยบริษัทฯ จะรับฟังและดำเนินการกับทุกข้อร้องเรียนอย่างเสมอภาค โปร่งใสและเป็นธรรม โดยมีมาตรการคุ้มครองผู้ร้องเรียนที่เป็นระบบและยุติธรรม ข้อมูลของผู้ร้องเรียนจะถูกเก็บรักษาไว้เป็นความลับของบริษัทฯ ตลอดจนมีแนวทาง เพื่อคุ้มครองผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน พยาน และบุคคลที่ให้ข้อมูลในการสืบสวนหาข้อเท็จจริง ไม่ให้ได้รับความเดือดร้อน อันตรายใดหรือความไม่ชอบธรรมอันเกิดมาจากการแจ้งเบาะแส ร้องเรียน การเป็นพยาน หรือการให้ข้อมูล